ปกหน้า 4

กฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว

หน้า ๑

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

พระราชกําหนด

การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว

พ.ศ. ๒๕๖๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐

เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวและกฎหมาย ว่าด้วยการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

พระราชกําหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

พระราชกําหนดนี้มีสาระสําคัญเป็นการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยกําหนดหลักเกณฑ์การนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศและการทํางานของคนต่างด้าว และให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวซึ่งมีอํานาจ   กําหนดนโยบายและกํากับการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ซึ่งพระราชกําหนดนี้มีบทบัญญัติ       บางประการที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล เสรีภาพในเคหสถาน  ของบุคคล เสรีภาพของบุคคลในการเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา สิทธิในทรัพย์สินของบุคคล และเสรีภาพของบุคคลในการประกอบอาชีพ โดยมีการจํากัดสิทธิและเสรีภาพเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ ในการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ

หน้า ๒

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๗๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกําหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

                   มาตรา ๑ พระราชกําหนดนี้เรียกว่า “พระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางาน ของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐

มาตรา ๒ พระราชกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิก

(๑) พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑

(๒) พระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙

มาตรา ๔ พระราชกําหนดนี้ไม่ใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว เฉพาะในฐานะ ดังต่อไปนี้

(๑) บุคคลในคณะผู้แทนทางทูต

(๒) บุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุล

(๓) ผู้แทนของประเทศสมาชิกและพนักงานขององค์การสหประชาชาติและทบวงการชํานัญพิเศษ

(๔) คนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางจากต่างประเทศเพื่อมาทํางานประจําอยู่กับบุคคลตาม (๑) (๒)

หรือ (๓)

(๕) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจตามความตกลงที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ

(๖) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา วัฒนธรรม ศิลปะ การกีฬา หรือกิจการอื่น ทั้งนี้ ตามที่จะได้กําหนดโดยกฎกระทรวง

(๗) บุคคลซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใด โดยจะกําหนดเงื่อนไขไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้

มาตรา ๕ ในพระราชกําหนดนี้

“การนําคนต่างด้าวมาทํางาน” หมายความว่า การดําเนินการใดๆ เพื่อนําคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจ ที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือตามนโยบายของรัฐบาลว่าด้วยการจ้างแรงงานมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ โดยจะมีค่าบริการหรือค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม

“ทํางาน” หมายความว่า การใช้กําลังกายหรือความรู้เพื่อประกอบอาชีพหรือประกอบการงาน ด้วยประสงค์ค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เป็นงานที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

“คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

“นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความ  รวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศกับตนด้วย

หน้า ๓

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

“ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง

“ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน” หมายความว่า ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

“ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางาน” หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

“ใบอนุญาตทํางาน” หมายความว่า ใบอนุญาตทํางานของคนต่างด้าว

“ผู้รับอนุญาตให้ทํางาน” หมายความว่า คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทํางาน

“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานของผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางาน

“ค่าบริการ” หมายความว่า เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ให้เป็นการตอบแทนการนําคนต่างด้าวมาทํางาน

“ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการนําคนต่างด้าวมาทํางาน

“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว

“คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทํางาน ของคนต่างด้าว

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

“นายทะเบียน”  หมายความว่า  อธิบดีและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะ ของอธิบดี  เพื่อออกใบอนุญาตทํางานและปฏิบัติการอื่นตามพระราชกําหนดนี้

 “อธิบดี”  หมายความว่า  อธิบดีกรมการจัดหางาน

“รัฐมนตรี”  หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกําหนดนี้

มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชกําหนดนี้  และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชกําหนดนี้ยกเว้นค่าธรรมเนียม  และกําหนดกิจการอื่น หรือออกประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกําหนดนี้

กฎกระทรวงและประกาศนั้น  เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด  ๑

บททั่วไป

มาตรา    ๗   รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจประกาศกําหนดให้งานใดเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทําในท้องที่ใด  เมื่อใด  โดยห้ามเด็ดขาดหรือห้ามโดยมีเงื่อนไขอย่างใดเพียงใดก็ได้

การออกประกาศตามวรรคหนึ่ง  ให้คํานึงถึงความมั่นคงของชาติ  โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย  และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

หน้า ๔

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๘ ห้ามคนต่างด้าวทํางานที่กําหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง หรือทํางานโดยไม่มีใบอนุญาตทํางาน

มาตรา ๙ ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวทํางานที่กําหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง หรือรับคนต่างด้าวทํางานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทํางาน

มาตรา ๑๐ บทบัญญัติมาตรา ๗ ไม่ใช้บังคับแก่การทํางานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๒  มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔

ในกรณีหนังสือสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณีกําหนดให้คนต่างด้าวทํางานตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง ได้ คนต่างด้าวนั้นต้องได้รับอนุญาต ทํางานตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของหนังสือสัญญานั้นด้วย

มาตรา ๑๑ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจประกาศกําหนดค่าธรรมเนียม เพื่อเรียกเก็บจากนายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวทํางานตามประเภทงานที่กําหนดในราชอาณาจักรได้

ผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีและชําระค่าธรรมเนียม ก่อนทําสัญญาจ้าง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสองต้องเสียเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่าของจํานวนค่าธรรมเนียม  ที่ต้องชําระ

มาตรา ๑๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖๔  วรรคสอง รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจประกาศกําหนดงานประเภทใดซึ่งต้องได้รับ  การจัดสรรจํานวนคนต่างด้าวเข้าทํางาน ในการนี้ รัฐมนตรีจะกําหนดเงื่อนไขอย่างใดไว้ด้วยก็ได้

มาตรา ๑๓ เมื่อมีการประกาศตามมาตรา ๑๒ แล้ว หากบุคคลใดจะจ้างคนต่างด้าวทํางานตามมาตรา ๑๒ กับตน ให้ยื่นคําขออนุญาตจ้างคนต่างด้าวเข้าทํางานต่ออธิบดีได้

การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศ    กําหนด

มาตรา ๑๔ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้บุคคลดังต่อไปนี้ทํางานในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใด ๆ หรือจะยกเว้น ไม่จําต้องปฏิบัติตามพระราชกําหนดนี้ ในกรณีใด ๆ ก็ได้

(๑) ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานหรือนายจ้างนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศ

(๒) คนต่างด้าวเข้ามาทํางานในราชอาณาจักร

มาตรา ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและความปลอดภัยสาธารณะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจประกาศกําหนดเขตที่พักอาศัยสําหรับผู้รับอนุญาตให้ทํางาน เฉพาะจําพวกใดหรือท้องที่ใดก็ได้

หน้า ๕

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๑๖ บรรดาคดีที่เกิดจากข้อพิพาทระหว่างผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางาน กับคนต่างด้าว ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้าง หรือนายจ้างกับคนต่างด้าวอันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้ หรือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านแรงงาน ให้อยู่ในเขตอํานาจ  ของศาลแรงงาน

หมวด ๒

คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว

มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการ การทํางานของคนต่างด้าว” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลังปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติผู้อํานวยการสํานักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขาธิการกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ประธานสภาหอการค้าไทย และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนองค์กรลูกจ้าง ซึ่งอธิบดีเสนอชื่อให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนไม่เกินสองคนและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านแรงงาน ด้านอุตสาหกรรมด้านกฎหมาย และด้านสิทธิมนุษยชน ด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ

ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อํานวยการสํานักบริหารแรงงานต่างด้าวกรมการจัดหางานเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา ๑๘ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) มีสัญชาติไทย

(๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๔) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๕) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งรับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง

หน้า ๖

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

(๖) ไม่เคยเป็นผู้ต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

มาตรา ๑๙ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่ง คราวละสามปี

ในระหว่างที่กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่

กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่าสองวาระไม่ได้

มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ

(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘

มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่กําหนดนโยบายและกํากับการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว ดังต่อไปนี้

(๑) กําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีการกําหนดมาตรการและแนวทางการดําเนินการแก้ไขปัญหาการทํางานของคนต่างด้าว รวมทั้งกําหนดแนวทางและเป้าหมายในการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว

(๒) พิจารณาและเสนอให้มีการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาการทํางานของคนต่างด้าวให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์

(๓) รายงานผลการดําเนินงานประจําปีต่อคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ

(๔) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่

คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

นโยบายที่ได้จัดทําตาม (๑) ให้นําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยดําเนินการและกํากับการให้เป็นไป ตามนโยบายดังกล่าว

มาตรา ๒๒ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้

หน้า ๗

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

หมวด ๓

การนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

______________

ส่วนที่ ๑

บททั่วไป

______________

มาตรา ๒๓ บทบัญญัติในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับแก่

(๑) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน

(๒) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล

มาตรา ๒๔ การนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศโดยผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานหรือนายจ้างให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๕ ห้ามผู้ใดโฆษณาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่เป็นผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางาน

ส่วนที่ ๒

การประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

______________

มาตรา ๒๖ ห้ามผู้ใดประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี

การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๒๗ ผู้ขออนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) มีทุนจดทะเบียนและชําระแล้วตามที่อธิบดีประกาศกําหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท

(๒) มีทุนเป็นของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนทุนทั้งหมดและจะต้องมีจํานวนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด เว้นแต่ในกรณีที่มีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญาหรือความผูกพันตามพันธกรณีนั้น

(๓) มีสํานักงานอยู่ในที่ตั้งที่เป็นสัดส่วน เปิดเผย มีหลักแหล่งที่แน่นอน และไม่เป็นสถานที่ต้องห้ามตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

(๔) ไม่เป็นผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางาน ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต นําคนต่างด้าวมาทํางาน หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน ตามพระราชกําหนดนี้

หน้า ๘

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

(๕) ไม่เป็นผู้รับอนุญาต ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน

(๖) ไม่เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางาน ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจัดหางานหรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล

(๗) มีผู้จัดการซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคล ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(ก) มีสัญชาติไทย

(ข) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

(ค) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตให้นํา

คนต่างด้าวมาทํางาน หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานตามพระราชกําหนดนี้

(ง) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตหรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน

(จ) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางานหรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล

(ฉ) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(ช) ไม่เป็นผู้มีหรือเคยมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี

(ซ) ไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเอาการกระทําโดยทุจริตเป็นองค์ประกอบ หรือในความผิดตามพระราชกําหนดนี้ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์

มาตรา ๒๘ ผู้ขออนุญาตต้องวางหลักประกันตามที่กําหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าล้านบาทไว้กับอธิบดี เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศตามพระราชกําหนดนี้ ก่อนที่อธิบดีจะอนุญาตแก่ผู้ขออนุญาต

ในกรณีที่หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานวางไว้ตามวรรคหนึ่งลดลงเพราะได้จ่ายไปตามพระราชกําหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานวางหลักประกันเพิ่มจนครบจํานวนเงินที่กําหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําสั่ง

การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การหักเงินจากหลักประกันชดใช้ให้แก่นายจ้างหรือคนต่างด้าวในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ การเรียกหลักประกันเพิ่ม การวางหลักประกันเพิ่มและการขอรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

หน้า ๙

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๒๙ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานประกอบธุรกิจตามที่อธิบดีประกาศกําหนด เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีตามมาตรา ๒๖ แล้ว

มาตรา ๓๐ ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานตามมาตรา ๒๖ ให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน

ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานให้ยื่นคําขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และเมื่อได้ยื่นคําขอดังกล่าวแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากอธิบดี

การขอต่ออายุใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๑ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องยื่นคําขอรับใบแทนใบอนุญาต นําคนต่างด้าวมาทํางานในกรณีที่ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดในสาระสําคัญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดดังกล่าว

การขอใบแทนใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานและการออกใบแทนใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๓๒ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องแสดงใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สํานักงานตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน

มาตรา ๓๓ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานย้ายสํานักงานหรือตั้งสํานักงานชั่วคราวที่มิใช่สถานที่ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี

การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๓๔ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีเมื่อประสงค์จะเปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคล

การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๓๕ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องใช้ลูกจ้างซึ่งได้จดทะเบียนตามวรรคหนึ่งเท่านั้นทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องแสดงทะเบียนลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ณ สํานักงาน เพื่อให้นายจ้างหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบความเป็นลูกจ้างดังกล่าวได้

หน้า ๑๐

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

การกระทําที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศของลูกจ้างซึ่งผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานได้จดทะเบียนไว้ ให้ถือว่าเป็นการกระทําของผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานด้วย

มาตรา ๓๖ ลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ (๗) และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศของผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานรายอื่นตามพระราชกําหนดนี้

(๒) เป็นตัวแทนจัดหางานหรือลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล ในขณะเดียวกัน

มาตรา ๓๗ การประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศเป็นอันสิ้นสุดลงในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานสิ้นอายุ

(๒) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน

(๓) ไม่ได้รับอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน

(๔) ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานยกเลิกวัตถุประสงค์ของบริษัทในการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

(๕) เมื่อมีการเลิกบริษัทที่เป็นผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางาน

เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง และผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานมีความผูกพันตามสัญญากับนายจ้างอยู่ ให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานที่ยังคงมีภาระหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้แจ้งต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า

ในกรณีตาม (๔) และ (๕) ให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานแจ้งต่ออธิบดี และส่งใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานคืนแก่อธิบดีโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๓๘ หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานวางไว้ตามมาตรา ๒๘ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตราบเท่าที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานยังมิได้เลิกประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ หรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานเลิกประกอบธุรกิจดังกล่าวแล้ว แต่ยังมีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกําหนดนี้

ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานเลิกประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ และไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกําหนดนี้ ให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานยื่นคําขอรับหลักประกันคืนต่ออธิบดี เมื่ออธิบดีตรวจสอบแล้วพบว่าผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกําหนดนี้ ให้แจ้งแก่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานเป็นหนังสือเพื่อมารับหลักประกันคืน

หน้า ๑๑

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

ให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานรับหลักประกันคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่รับหลักประกันคืนภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน

            มาตรา ๓๙ ผู้จัดการผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคล หรือลูกจ้างซึ่งจดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง เมื่อออกไปปฏิบัติงานนอกสํานักงาน

บัตรประจําตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดและให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกบัตร

ผู้จัดการหรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่งต้องยื่นคําขอรับใบแทนบัตรประจําตัว ในกรณีที่บัตรประจําตัว สูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดในสาระสําคัญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทําลายหรือชํารุดดังกล่าว

การขอมีบัตร การออกบัตรประจําตัว และการออกใบแทนบัตรประจําตัว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๔๐ ผู้จัดการผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคล หรือลูกจ้างซึ่งจดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ ซึ่งพ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้างต้องส่งคืนบัตรประจําตัวแก่อธิบดีหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางาน แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้างดังกล่าว

ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานซึ่งได้รับบัตรประจําตัวคืนตามวรรคหนึ่งต้องส่งบัตรประจําตัวนั้นแก่อธิบดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับจากผู้จัดการหรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๔๑ ในการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าว มาทํางานต้องทําสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๔๒ ในการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากนายจ้าง เว้นแต่ค่าบริการและค่าใช้จ่ายตามรายการและอัตราที่อธิบดีประกาศกําหนด

ในการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากคนต่างด้าว

ในกรณีตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานได้รับค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย จากนายจ้าง ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องออกใบรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้างตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๔๓ ในแต่ละเดือน ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องส่งรายงานเกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศต่ออธิบดี ภายในวันที่สิบของเดือนถัดไป ตามแบบรายงานที่อธิบดีประกาศกําหนด

หน้า ๑๒

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องใช้ชื่อ คําแสดงชื่อ หรือคําอื่นใดในการประกอบธุรกิจว่า “บริษัทนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศ” และจะใช้ถ้อยคําหรืออักษรต่างประเทศอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกันประกอบด้วยก็ได้

มาตรา ๔๕ ห้ามผู้ใดนอกจากผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางาน ใช้ชื่อ คําแสดงชื่อหรือคําอื่นใดในทางธุรกิจว่า “บริษัทนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศ” หรือใช้คําหรืออักษรต่างประเทศที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน

ส่วนที่ ๓

นายจ้างนําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนในประเทศ

________________

มาตรา ๔๖ ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนในประเทศต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และนายจ้างต้องวางหลักประกันไว้กับอธิบดีเพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนในประเทศ ทั้งนี้ หลักประกันดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตราบเท่าที่นายจ้างยังมีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกําหนดนี้

การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

การวางหลักประกัน อัตราของหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การหักหลักประกันในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนในประเทศ การเรียกหลักประกันเพิ่ม การวางหลักประกันเพิ่ม และการขอรับหลักประกันคืนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๗ ในกรณีหลักประกันที่นายจ้างวางไว้ตามมาตรา ๔๖ ลดลงเพราะได้จ่ายไปตามพระราชกําหนดนี้ และนายจ้างยังมีภาระต้องรับผิดชอบตามพระราชกําหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างวางหลักประกันเพิ่มจนครบจํานวนเงินที่กําหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งนายจ้างผู้ใดไม่วางหลักประกันเพิ่มภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งต้องชําระเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนจนกว่าจะวางหลักประกันเพิ่มจนครบถ้วน

มาตรา ๔๘ ในกรณีที่นายจ้างขอรับหลักประกันคืน นายจ้างต้องไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกําหนดนี้ ทั้งนี้ เมื่อนายจ้างได้ขอรับหลักประกันคืน ให้อธิบดีตรวจสอบว่านายจ้างไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกําหนดนี้ แล้วจึงแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างมารับหลักประกันคืนในกรณีที่นายจ้างไม่รับหลักประกันคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากอธิบดีให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน

มาตรา ๔๙ ห้ามนายจ้างเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์ใดๆ จากคนต่างด้าวในการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนในประเทศ

หน้า ๑๓

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

ส่วนที่ ๔

หน้าที่และความรับผิดชอบ

_________________

มาตรา ๕๐ ในกรณีที่นายจ้างซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๖ เลิกจ้างคนต่างด้าวโดยมีเหตุผลอันสมควร คนต่างด้าวลาออกจากงานอันมิใช่เนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมายหรือคนต่างด้าวทํางานกับนายจ้างจนครบกําหนดตามสัญญาจ้างกับนายจ้างในประเทศ นายจ้างต้องแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด และต้องจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทํางานกับนายจ้างหรือวันที่ครบกําหนดตามสัญญา แล้วแต่กรณี และเมื่อจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้ว ให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร

การเลิกจ้างคนต่างด้าวโดยมีเหตุผลอันสมควรตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การเลิกจ้างคนต่างด้าวเพราะเหตุที่คนต่างด้าวกระทําประการหนึ่งประการใดที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๕๑ ในกรณีดังต่อไปนี้ นายจ้างต้องแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด

(๑) นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

(๒) นายจ้างไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไปได้

(๓) คนต่างด้าวลาออกจากงานอันเนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย

ในกรณีตามวรรคหนึ่ง หากคนต่างด้าวประสงค์จะทํางานกับนายจ้างรายอื่น นายจ้างรายอื่นซึ่งประสงค์จะนําคนต่างด้าวดังกล่าวมาทํางานกับตนนั้นต้องวางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ และได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับตน ทั้งนี้ คนต่างด้าวนั้นต้องทํางานกับนายจ้างรายอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกทํางานกับนายจ้างรายเดิม

ในกรณีที่คนต่างด้าวไม่ได้ทํางานกับนายจ้างรายอื่นภายในเวลาที่กําหนดไว้ตามวรรคสองให้นายจ้างรายเดิมจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร

มาตรา ๕๒ ในกรณีที่นายจ้างไม่ดําเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทาง ตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม ให้อธิบดีดําเนินการจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันที่นายจ้างได้วางไว้ตามมาตรา ๔๖

หน้า ๑๔

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๕๓ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานได้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศตามสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ แต่นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้น เข้าทํางาน หรือคนต่างด้าวไม่ยินยอมทํางานกับนายจ้างนั้น หรือคนต่างด้าวทํางานกับนายจ้างในประเทศตามสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศแล้ว แต่นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าวนั้นโดยมีเหตุผลอันสมควรหรือคนต่างด้าวได้ลาออกจากงานก่อนครบอายุสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศอันมิใช่เนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ให้นายจ้างแจ้งผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทํางานกับนายจ้าง นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าว หรือคนต่างด้าวได้ลาออกจากงาน แล้วแต่กรณี และให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานมีหน้าที่ส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้าง ทั้งนี้ เมื่อจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร

ในกรณีที่นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้นเข้าทํางานโดยมิใช่เหตุอันเนื่องจากคนต่างด้าว นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไปได้ คนต่างด้าวลาออกจากงานอันเนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย และคนต่างด้าวนั้นประสงค์จะทํางานกับนายจ้างรายอื่นผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานอาจจัดให้คนต่างด้าวทํางานกับนายจ้างรายอื่นได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายจ้างไม่รับเข้าทํางานหรือวันที่ลูกจ้างไม่ได้ทํางานกับนายจ้างด้วยเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ คนต่างด้าวสามารถทํางานกับนายจ้างรายอื่นได้ไม่เกินระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

ห้ามผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดในการจัดให้คนต่างด้าวทํางานกับนายจ้างรายอื่นตามวรรคสองจากคนต่างด้าว ทั้งนี้ ให้นายจ้างรายอื่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามรายการและอัตราที่อธิบดีประกาศกําหนด และเมื่อได้รับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานออกใบรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้างรายอื่นตามแบบที่อธิบดี             ประกาศกําหนด

ในกรณีที่คนต่างด้าวไม่ประสงค์จะทํางานกับนายจ้างรายอื่นตามวรรคสอง ให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานมีหน้าที่จัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่นําคนต่างด้าวมาทํางาน ตามสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากนายจ้างไปแล้วทั้งหมดให้แก่นายจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างขอรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายดังกล่าวคืน

หน้า ๑๕

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๕๕ เมื่อคนต่างด้าวทํางานกับนายจ้างจนครบกําหนดตามสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ หรือไม่ได้ทํางานกับนายจ้างแล้ว นายจ้างต้องแจ้งผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ครบกําหนดตามสัญญาหรือวันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทํางานกับ นายจ้างแล้ว แล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางที่ได้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานเลิกประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ เมื่อคนต่างด้าวได้ทํางานกับนายจ้างจนครบกําหนดตามสัญญาแล้ว ให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีเพื่อดําเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันของผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานที่ได้วางไว้ตามมาตรา ๒๘

มาตรา ๕๖ คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทํางานตามความในหมวดนี้ และต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่ดําเนินการส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดการให้คนต่างด้าวเดินทางกลับจากนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานภายในเวลาที่กําหนดได้

ในกรณีที่นายจ้างตามมาตรา ๔๖ หรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานตามมาตรา ๒๖  มิได้ชดใช้เงินคืนภายในเวลาที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีหักเงินจํานวนดังกล่าวจากหลักประกันที่วางไว้เพื่อคืนให้แก่หน่วยงานที่ดําเนินการส่งคนต่างด้าวดังกล่าวกลับไปยังประเทศต้นทาง

มาตรา ๕๗ คนต่างด้าวซึ่งได้รับความเสียหายจากการที่นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๕ แล้วแต่กรณีอาจยื่นคําร้องต่ออธิบดีเพื่อดําเนินการหักหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๒๘ หรือมาตรา ๔๖ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวได้

มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๓  มาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๕ ให้อธิบดีหักหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๒๘ เพื่อคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้าง หรือคืนเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินการส่งกลับหรือค่าใช้จ่ายอื่นตามความจําเป็นให้แก่คนต่างด้าวซึ่งได้รับความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และความรับผิดชอบดังกล่าว และเมื่อได้ดําเนินการหักหลักประกันดังกล่าวแล้ว ให้อธิบดีแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานทราบโดยไม่ชักช้า

ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่ดําเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๕ ให้อธิบดีดําเนินการจัดส่งคนต่างด้าวดังกล่าวกลับไปยังประเทศต้นทาง  โดยหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดการให้คนต่างด้าวเดินทางกลับและค่าใช้จ่ายอื่นตามความจําเป็นจากหลักประกันของผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานที่ได้วางไว้ตามมาตรา ๒๘

หน้า ๑๖

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

หมวด ๔

การทํางานของคนต่างด้าว

________________

มาตรา ๕๙ งานใดที่มิได้ห้ามไว้ในประกาศซึ่งออกตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง คนต่างด้าวจะทําได้ต้องได้รับอนุญาตให้ทํางานจากนายทะเบียน เว้นแต่คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทํางานอันจําเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีประกาศกําหนดซึ่งมีระยะเวลาทํางานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวัน แต่คนต่างด้าวจะทํางานนั้นได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ

การขออนุญาตทํางาน การอนุญาตให้ทํางาน และการแจ้ง ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

แบบใบอนุญาตทํางานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๖๐ คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทํางานตามมาตรา ๕๙ ต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่านและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด ในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๑ ผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรเข้ามาทํางานในกิจการของตนในราชอาณาจักรให้ยื่นคําขออนุญาตทํางานต่อนายทะเบียนและชําระค่าธรรมเนียมแทนคนต่างด้าว

การขออนุญาตทํางานแทนคนต่างด้าวและการออกใบอนุญาตทํางานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๒ เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาทํางานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม หรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าวแจ้งต่อนายทะเบียนโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ การแจ้งให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตทํางานให้แก่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

แบบใบอนุญาตทํางานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

ในระหว่างที่ดําเนินการตามวรรคสอง ให้คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งทํางานไปพลางก่อนได้โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๖๘

มาตรา ๖๓ คนต่างด้าวซึ่งไม่อาจขออนุญาตตามมาตรา ๕๙ เพราะเหตุดังต่อไปนี้อาจขออนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทํางานตามประเภทที่คณะรัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ โดยคํานึงถึงความมั่นคงของชาติและผลกระทบต่อสังคม

หน้า ๑๗

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

(๑) ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศและได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใดแทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ

(๒) เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองแต่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

(๓) ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ หรือตามกฎหมายอื่น

(๔) เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕

(๕) เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ

การขออนุญาตทํางานและการออกใบอนุญาตทํางานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

แบบใบอนุญาตทํางานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๖๔ คนต่างด้าวซึ่งเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทยถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีบัตรผ่านแดนหรือเอกสารราชการที่ประเทศต้นทางออกให้คนต่างด้าวที่สามารถใช้ในการเข้ามาในราชอาณาจักร อาจได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ทํางานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลและในท้องที่ที่กําหนดได้

ความในวรรคหนึ่งจะใช้บังคับกับท้องที่ใด สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติใด เพื่อทํางานประเภทหรือลักษณะใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การขออนุญาตทํางานและการออกใบอนุญาตทํางานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

แบบใบอนุญาตทํางานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๖๕ ใบอนุญาตทํางานที่ออกให้ตามพระราชกําหนดนี้ให้มีอายุไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออก เว้นแต่ใบอนุญาตทํางานที่ออกให้แก่คนต่างด้าวตามมาตรา ๖๒ ให้มีอายุเท่าระยะเวลา ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทํางานตามกฎหมายนั้น ๆ

อายุใบอนุญาตทํางานตามวรรคหนึ่งไม่มีผลเป็นการขยายระยะเวลาอยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้ทํางานตามมาตรา ๖๒ ได้รับการขยายระยะเวลาทํางานตามกฎหมายนั้น ๆ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าวมีหนังสือแจ้งการขยายระยะเวลาทํางานนั้นต่อนายทะเบียนโดยเร็วตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด และให้นายทะเบียนจดแจ้งการขยายระยะเวลานั้นลงในใบอนุญาตทํางาน

หน้า ๑๘

เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๖๗ ผู้รับอนุญาตให้ทํางานซึ่งประสงค์จะทํางานต่อไปให้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตทํางานต่อนายทะเบียนก่อนที่ใบอนุญาตทํางานจะสิ้นอายุ

เมื่อได้ยื่นคําขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตทํางานนั้นทํางานไปพลางก่อนจนกว่านายทะเบียนจะมีคําสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทํางาน

การต่ออายุใบอนุญาตทํางานให้ต่อได้ครั้งละไม่เกินสองปี โดยให้กระทําเพียงเท่าที่จําเป็น และสําหรับกรณีคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓ (๑) หรือ (๒) นั้น ระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานติดต่อกันรวมแล้วต้องไม่เกินสี่ปี เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะกําหนดเป็นอย่างอื่นเป็นคราว ๆ ไป

การขอต่ออายุใบอนุญาตทํางานและการต่ออายุใบอนุญาตทํางานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๘ ผู้รับอนุญาตให้ทํางานต้องมีใบอนุญาตทํางานอยู่กับตัวหรืออยู่ ณ สถานที่ทํางาน ในระหว่างเวลาทํางาน เพื่อแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียนได้เสมอ

มาตรา ๖๙ ถ้าใบอนุญาตทํางานสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดในสาระสําคัญ ให้ผู้รับอนุญาตให้ทํางานยื่นคําขอรับใบแทนใบอนุญาตทํางานต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหายถูกทําลาย หรือชํารุดดังกล่าว

การขอรับใบแทนใบอนุญาตทํางานและการออกใบแทนใบอนุญาตทํางาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๗๐ ห้ามผู้รับอนุญาตให้ทํางานทํางานแตกต่างจากประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่หรือเงื่อนไขในการทํางาน ตามที่กําหนดไว้ในใบอนุญาตทํางาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๑

มาตรา ๗๑ ผู้รับอนุญาตให้ทํางานผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนหรือเพิ่มรายการ ดังต่อไปนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน

(๑) ประเภทงาน

(๒) นายจ้าง

(๓) ท้องที่

(๔) เงื่อนไขในการทํางาน

การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๗๒ ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทํางานกับตนเข้าทํางาน

มาตรา ๗๓ ห้ามผู้ใดให้คนต่างด้าวทํางานไม่ตรงตามที่กําหนดไว้ในใบอนุญาตทํางาน

มาตรา ๗๔ ให้นายจ้างแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตให้ทํางานออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด

การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

หน้า ๑๙

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

หมวด ๕

กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว

_________________

มาตรา ๗๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมการจัดหางาน เรียกว่า “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว” เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสําหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว

มาตรา ๗๖ ให้กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้

(๑) เงินหรือทรัพย์สินที่โอนมาจากกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๔๐

(๒) เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม

(๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้

(๔) เงินค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บได้ตามพระราชกําหนดนี้ตามที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้นําไปใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

(๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน

(๖) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่จัดสรรให้ตามความจําเป็น

(๗) เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด

เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้นําส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

มาตรา ๗๗ เงินของกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

(๑) ช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทํางานตามพระราชกําหนดนี้ที่ถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมายด้านแรงงาน

(๒) ส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร

(๓) ช่วยเหลือและอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ที่เสนอโครงการหรือแผนงานในการดําเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทํางาน การจัดสวัสดิการ การศึกษา การสาธารณสุข และ การให้ความคุ้มครองด้านแรงงาน แก่คนต่างด้าว

(๔) คืนให้แก่คนต่างด้าวที่ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าว

(๕) บริหารกองทุน

(๖) บริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวตามพระราชกําหนดนี้

หน้า ๒๐

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

การดําเนินการตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกําหนด

มาตรา ๗๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหาร  จัดการการทํางานของคนต่างด้าว” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ อธิบดี กรมการจัดหางาน เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมบัญชีกลางผู้แทนสํานักงบประมาณ และผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านแรงงาน ด้านการคลัง ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการบริหาร หรือด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ

ให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการกองทุนอาจแต่งตั้งข้าราชการกรมการจัดหางานจํานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา ๗๙ กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี

กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

มาตรา ๘๐ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย

(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๕) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่หรือทุจริต มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ

(๖) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก

มาตรา ๘๑ ให้คณะกรรมการกองทุนมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) กําหนดนโยบาย กํากับดูแลการบริหารจัดการ และติดตามการดําเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

(๒) กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการใช้จ่ายเงินของกองทุนตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

(๓) พิจารณาอนุมัติแผนการดําเนินงานประจําปี

หน้า ๒๑

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

(๔) พิจารณาจัดสรรเงินของกองทุนเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

(๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์และการตรวจสอบภายในของกองทุนโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

(๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินของกองทุน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทํางานของคนต่างด้าวและการเบิกจ่ายเงินทดรองในการดําเนินการดังกล่าว

มาตรา ๘๒ คณะกรรมการกองทุนมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมายได้

มาตรา ๘๓ ให้กรมการจัดหางานจัดทําบัญชีของกองทุนให้เป็นไปตามระบบการบัญชี อย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้ส่งผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี

มาตรา ๘๔ ให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีอิสระที่สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน

มาตรา ๘๕ ให้ผู้สอบบัญชีรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีและให้กรมการจัดหางานเผยแพร่งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีรับทราบ

หมวด ๖

มาตรการทางปกครอง

_______________

ส่วนที่ ๑

การพักใช้ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน

การเพิกถอนใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน และการเพิกถอนใบอนุญาตทํางาน

_______________

มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกําหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกําหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งพักใช้ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน และสั่งให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานนั้นปฏิบัติให้ถูกต้องหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด

มาตรา ๘๗ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานกระทําความผิด ตามพระราชกําหนดนี้และอยู่ระหว่างการดําเนินคดี ให้อธิบดีสั่งพักใช้ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

หน้า ๒๒

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๘๘ ให้อธิบดีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้

(๑) ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่ปฏิบัติหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามคําสั่งของอธิบดีตามมาตรา ๘๖

(๒) ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี หรือเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้อ ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานอีก

(๓) ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ของประเทศต้นทาง มีส่วนรู้เห็นหรือเป็นผู้สนับสนุนการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องดังกล่าวในการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ และอธิบดีได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทาง หรือห้ามมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเตือนของอธิบดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนนั้น

(๔) ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทำางานฝ่าฝืนมาตรา ๘๙ วรรคสอง

(๕) อธิบดีเห็นว่าการที่ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกําหนดนี้หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกําหนดนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรง

(๖) อธิบดีเห็นว่าผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่สามารถปฏิบัติตามพระราชกําหนดนี้หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกําหนดนี้ได้

มาตรา ๘๙ คําสั่งพักใช้ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานและคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานให้ทําเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานไม่ยอมรับคําสั่ง ให้ปิดคําสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สํานักงาน และให้ถือว่าผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานได้ทราบคําสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคําสั่ง

ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่การดําเนินการที่ต้องกระทําต่อเนื่องจากการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศก่อนวันที่ถูกสั่งพักใช้ ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางาน

ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานต้องรับผิดชอบในการจัดส่งคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตนกลับไปยังประเทศต้นทางจนกว่าจะพ้นจากความรับผิดตามพระราชกําหนดนี้ และให้รายงานให้อธิบดีทราบเกี่ยวกับคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตน

หน้า ๒๓

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๙๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตให้ทํางานฝ่าฝืนพระราชกําหนดนี้หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาต ให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทํางาน

มาตรา ๙๑ อธิบดีอาจประกาศรายชื่อนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานซึ่งได้รับโทษเพราะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชกําหนดนี้

ส่วนที่ ๒

การอุทธรณ์คําสั่งทางปกครอง

_________________

มาตรา ๙๒ ในกรณีที่อธิบดีไม่อนุญาตตามมาตรา ๒๖ ไม่ต่ออายุใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานตามมาตรา ๓๐ ไม่อนุญาตให้ย้ายสํานักงานหรือให้ตั้งสํานักงานชั่วคราวตามมาตรา ๓๓ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลตามมาตรา ๓๔ หรือได้หักหลักประกันหรือเรียกหลักประกันเพิ่มตามพระราชกําหนดนี้ ผู้ขออนุญาตหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว

คําวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา ๙๓ ในกรณีที่อธิบดีไม่อนุญาตตามมาตรา ๔๖ หรือได้หักหลักประกันหรือเรียกหลักประกันเพิ่มตามพระราชกําหนดนี้ นายจ้างมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว

คําวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา ๙๔ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว

คําวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา ๙๕ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ หรือมาตรา ๗๑ หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตทํางานตามมาตรา ๖๗ หรือเพิกถอนใบอนุญาตทํางานตามมาตรา ๙๐ คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทํางาน ผู้ซึ่งขออนุญาตแทนคนต่างด้าว หรือผู้รับอนุญาตให้ทํางาน แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว

คําวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา ๙๖ เมื่อรัฐมนตรีได้รับคําอุทธรณ์ตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ ให้พิจารณาคําอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้มีหนังสือแจ้งแก่ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว

หน้า ๒๔

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

กรณีที่พ้นระยะเวลาตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่ารัฐมนตรีพิจารณาคําอุทธรณ์แล้วยืนยันตามคําสั่งเดิม

มาตรา ๙๗ การอุทธรณ์ตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคําสั่ง เว้นแต่กรณีการอุทธรณ์คําสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทํางานตามมาตรา ๖๗

หมวด ๗

พนักงานเจ้าหน้าที่

_____________

มาตรา ๙๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ ดังต่อไปนี้

(๑) มีหนังสือเรียกหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดเพื่อประกอบการพิจารณาได้

(๒) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามพระราชกําหนดนี้

(๓) เข้าไปในสถานประกอบการซึ่งรับคนต่างด้าวจากผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามพระราชกําหนดนี้

(๔) ค้นในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศหรือมีคนต่างด้าวทํางานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือค้นเพื่อหาและช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทําที่ฝ่าฝืนพระราชกําหนดนี้

(๕) ยึดหรืออายัด เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทํางาน การนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศ ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชกําหนดนี้

การค้นตาม (๔) ต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่า หากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้คนต่างด้าวนั้นอาจถูกประทุษร้าย โยกย้าย หรือซ่อนเร้น หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องอาจถูกโยกย้ายซ่อนเร้น ทําให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม หรือถูกทําลายไปเสียก่อน ให้ดําเนินการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นแต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น

ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอํานวยความสะดวกตามสมควร

มาตรา ๙๙ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจําตัวตามแบบที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง

หน้า ๒๕

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๑๐๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

เพื่อประโยชน์ในการจับกุมและปราบปรามผู้กระทําความผิดตามพระราชกําหนดนี้ ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา           ความอาญา

ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบคนต่างด้าวผู้ใดทํางานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทํางานหรือทํางานแตกต่างจากที่กําหนดไว้ในใบอนุญาตทํางานอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกําหนดนี้ และพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้คนต่างด้าวไปรายงานตัวยังสถานีตํารวจพร้อมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่คนต่างด้าวผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามคําสั่งหรือจะหลบหนี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจจับคนต่างด้าวนั้นโดยไม่ต้องมีหมายจับและให้นําตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทําการของพนักงานสอบสวนโดยทันที

หมวด ๘

บทกําหนดโทษ

_______________

มาตรา ๑๐๑ คนต่างด้าวซึ่งมิใช่ผู้เสียหายจากการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ในกรณีที่คนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง ยินยอมเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายในเวลาที่พนักงานสอบสวนกําหนด แต่ต้องไม่ช้ากว่าสามสิบวัน พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับก็ได้ และเมื่อได้ดําเนินการให้คนต่างด้าวนั้นเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๑๐๒ ผู้ใดรับคนต่างด้าวเข้าทํางานโดยฝ่าฝืนมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงแปดแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน

มาตรา ๑๐๓ ผู้ใดนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศโดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหกแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๖ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

หน้า ๒๖

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๑๐๗ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา ๓๗ วรรคสองหรือวรรคสาม มาตรา ๔๐ วรรคสอง มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ วรรคสาม  มาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา ๑๐๘ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา ๑๐๙ ผู้จัดการผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลหรือลูกจ้างซึ่งจดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา ๑๑๐ ผู้ใดมิได้เป็นลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้าง ในประเทศที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ แต่ได้ดําเนินการเกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๑๑ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับห้าเท่าของเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่เรียกหรือรับไว้จากนายจ้าง หรือคนต่างด้าวหรือค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเกินกว่าอัตราที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษปรับสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

มาตรา ๑๑๓ นายจ้างผู้ใดนําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทต่อการนําคนต่างด้าวมาทํางานหนึ่งคน หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๑๔ นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๙ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อการเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ จากคนต่างด้าวหนึ่งคน หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๑๕ นายจ้างผู้ใดไม่แจ้งต่ออธิบดีเมื่อคนต่างด้าวไม่ได้ทํางานกับตนแล้ว ตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคนนายจ้างผู้ใดไม่แจ้งต่ออธิบดีภายหลังจากที่ได้จัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้วตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน

มาตรา ๑๑๖ นายจ้างผู้ใดไม่จัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทาง ตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน

มาตรา ๑๑๗ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานผู้ใดไม่แจ้งต่ออธิบดีภายหลังจากที่ได้ส่งคนต่างด้าวซึ่งไม่ได้ทํางานกับนายจ้างกลับไปยังประเทศต้นทางแล้วตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน

หน้า ๒๗

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๑๑๘ ผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานผู้ใดไม่จัดส่งคนต่างด้าวซึ่งไม่ได้ทํางานกับนายจ้างกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน

มาตรา ๑๑๙ คนต่างด้าวผู้ใดทํางานโดยไม่ได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒๐ ผู้รับอนุญาตให้ทํางานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๑๒๑ ผู้รับอนุญาตให้ทํางานผู้ใดทํางานอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงแปดแสนบาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน

มาตรา ๑๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาทต่อคนต่างด้าว หนึ่งคน

มาตรา ๑๒๔ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒๕ ผู้ใดไม่มาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานตามมาตรา ๙๘ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๙๘ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๒๗ ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกตามมาตรา ๙๘ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๑๒๘ ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศหรือสามารถหาลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้กับนายจ้าง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงิน หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่หกแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หรือทั้งจําทั้งปรับ

ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทําโดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป หรือโดยสมาชิกขององค์กรอาชญากรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง

มาตรา ๑๒๙ ผู้ใดสนับสนุนการกระทําความผิดตามมาตรา ๑๒๘ ไม่ว่าการกระทําของตัวการจะได้กระทํานอกราชอาณาจักรหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหกแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

หน้า ๒๘

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๑๓๐ การเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทําความผิดตามมาตรา ๑๒๘ หรือมาตรา ๑๒๙ แทนผู้เสียหาย พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับฟ้องคดีอาญา หรือจะยื่นคําร้องในภายหลังขณะที่คดีอาญานั้นยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่จะยื่นคําร้องเพื่อเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ก่อนที่ศาลจะมีคําวินิจฉัยชี้ขาดคดี

ในกรณีที่ไม่มีคําขอให้ใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปตามวรรคหนึ่ง หากศาลมีคําพิพากษาลงโทษจําเลย ศาลจะสั่งในคําพิพากษาคดีอาญาให้จําเลยใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปแก่ผู้เสียหายตามที่เห็นสมควรก็ได้ คําสั่งดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้เสียหายในอันที่จะฟ้องจําเลยเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกเอาทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปในส่วนที่ยังขาดอยู่

มาตรา ๑๓๑ ผู้ใดยึดใบอนุญาตทํางานหรือเอกสารสําคัญประจําตัวของคนต่างด้าวไว้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

มาตรา ๑๓๓ บรรดาความผิดตามพระราชกําหนดนี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

(๑) อธิบดีสําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร

(๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดสําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดนั้น

ในกรณีที่มีการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทําความผิดตามพระราชกําหนดนี้ที่มีโทษอยู่ในเกณฑ์ที่จะทําการเปรียบเทียบได้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ

เมื่อผู้กระทําผิดได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในเวลาที่กําหนดแต่ไม่เกินสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

บทเฉพาะกาล

_____________

มาตรา ๑๓๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ ให้นายทะเบียนอนุญาตให้คนต่างด้าวทํางานใด ๆ ได้ เว้นแต่งานที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑

หน้า ๒๙

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๑๓๕ คนต่างด้าวผู้ใดได้รับใบอนุญาตทํางานหรือได้รับการผ่อนผันให้ทํางานตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตทํางานหรือได้รับการผ่อนผันให้ทํางานตามพระราชกําหนดนี้

ใบอนุญาตทํางานที่ออกให้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๒ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุใบอนุญาตทํางานนั้น

มาตรา ๑๓๖ นายจ้างผู้ใดได้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนในประเทศตามพระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ดําเนินการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนเองในประเทศได้ต่อไป

มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศตามพระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อยู่ก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานตามพระราชกําหนดนี้

ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศตามวรรคหนึ่งประสงค์จะนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศภายหลังจากวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับต้องปฏิบัติตามพระราชกําหนดนี้ก่อนนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

มาตรา ๑๓๘ บรรดาคําขอที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคําขอที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชกําหนดนี้ และให้อธิบดีเรียกเอกสารหรือหลักฐานประกอบคําขอที่กําหนดไว้ตามพระราชกําหนดนี้ให้ครบถ้วน

มาตรา ๑๓๙ บรรดาคําอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าวพ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคําอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชกําหนดนี้

มาตรา ๑๔๐ ให้โอนบรรดากิจการ เงิน สิทธิ ความรับผิด ทรัพย์สิน และหนี้สินของกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ไปเป็นของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวตามพระราชกําหนดนี้

มาตรา ๑๔๑ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวประกอบด้วยกรรมการโดยตําแหน่งตามมาตรา ๑๗ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชกําหนดนี้ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ

มาตรา ๑๔๒ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวประกอบด้วยกรรมการโดยตําแหน่งตามมาตรา ๗๘ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชกําหนดนี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ

หน้า ๓๐

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

มาตรา ๑๔๓ ลูกจ้างซึ่งถูกหักเงินค่าจ้างและนําส่งเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ และเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยค่าใช้จ่ายของตนเอง ให้มีสิทธิได้รับเงินที่ถูกหักไว้คืนภายในสองปีนับจากวันที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร หากไม่ขอรับเงินคืนภายในเวลาที่กําหนดให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน

มาตรา ๑๔๔ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับและเป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งตามมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติการทํางาน ของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ได้รับการแต่งตั้งอยู่ก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับมีอํานาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นนั้นได้

บรรดาความผิดตามพระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับและเป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้อธิบดี กรมการจัดหางานหรือผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๖๑ แห่งพระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีอํานาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นนั้นได้

มาตรา ๑๔๕ บรรดากฎหรือคําสั่งใด ๆ ที่ได้ออกหรือสั่งโดยอาศัยอํานาจตามความพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกําหนดนี้ จนกว่าจะมีกฎหรือคําสั่งใด ๆ ที่ออกตามพระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ

          ผู้รับสนองพระราชโองการ

         พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

                   นายกรัฐมนตรี

อัตราค่าธรรมเนียม

__________

(๑)          ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทํางาน                                     ฉบับละ                   ๒๐,๐๐๐                บาท

(๒)          การต่ออายุ ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทํางาน                 ครั้งละ                    ๒๐,๐๐๐                บาท

(๓)          ใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทํางาน                        ฉบับละ                   ๑๐,๐๐๐                บาท

(๔)          การอนุญาตให้ย้ายสํานักงาน                                               ครั้งละ                      ๕,๐๐๐                บาท

หรือตั้งสำนักงานชั่วคราว

(๕)          การอนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอํานาจ                            ครั้งละ                      ๕,๐๐๐                บาท

กระทําการแทนนิติบคคล

(๖)          การจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับ                         คนละ                        ๑,๐๐๐                บาท

การนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ

(๗)          บัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่                    ฉบับละ                     ๑,๐๐๐                บาท

เกี่ยวกับการนำคนตางด้าวมาทํางานกับนายจ้าง

ในประเทศ

(๘)          ใบอนุญาตทำงาน                                                                  ฉบับละ                   ๒๐,๐๐๐                บาท

(๙)          การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน                                               ครั้งละ                    ๒๐,๐๐๐                บาท

หรือการขยายระยะเวลาการทํางาน

(๑๐)       ใบแทนใบอนุญาตทำงาน                                                      ฉบับละ                     ๓,๐๐๐                บาท

(๑๑)       การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน                         ครั้งละ                      ๕,๐๐๐                บาท

นายจ้าง ท้องที่ หรือเงื่อนไขในการทํางาน

(๑๒)       การจ้างคนตางด้าว                                                                คนละ                      ๒๐,๐๐๐                บาท

(๑๓)       ค่ายื่นคําขอ                                                                            ฉบับละ                     ๑,๐๐๐                บาท

(๑๔)       การรับรองสําเนาเอกสาร

(ก) ภาษาไทย                                                                        หน้าละ                          ๕๐                  บาท

(ข) ภาษาต่างประเทศ                                                           หน้าละ                        ๑๐๐                 บาท

(๑๕)       การออกหนังสือรับรอง

(ก) ภาษาไทย                                                                        หน้าละ                        ๕๐๐                 บาท

(ข) ภาษาตางประเทศ                                                           หน้าละ                     ๑,๐๐๐                บาท

(๑๖)       การแปลภาษาตางประเทศ                                                   ฉบับละ                     ๑,๐๐๐                บาท

(๑๗)       ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ                                                                 ครั้งละ                       ๑,๐๐๐                 บาท

ในการออกกฎกระทรวงกําหนดคาธรรมเนียม จะกําหนดคาธรรมเนียมให้แตกต่างกัน

โดยคํานึงถึงสาขาอาชีพ หรือสาขาอาชีพและท้องที่ทํางานของคนตางด้าวก็ได้

หน้า ๓๑

เล่ม         ๑๓๔       ตอนที่      ๖๕          ก             ราชกิจจานุเบกษา                 ๒๒          มิถุนายน                ๒๕๖๐

__________________________________________________________________________________

 

หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกําหนดฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าวพ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุมการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวทั้งระบบ ทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านแรงงาน เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สามารถทําการจัดระเบียบ การป้องกัน การคุ้มครองการเยียวยา และการใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวได้ทั้งระบบ อันจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านแรงงาน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกําหนด